“วิทยุการบิน” จัดจราจรน่านฟ้าไทย ลงทุน 1.5 หมื่นล้านขึ้นฮับอาเซียน | ATTA

ACTIVITY OF MONTH














ATTA > Tourism News > “วิทยุการบิน” จัดจราจรน่านฟ้าไทย ลงทุน 1.5 หมื่นล้านขึ้นฮับอาเซียน

“วิทยุการบิน” จัดจราจรน่านฟ้าไทย ลงทุน 1.5 หมื่นล้านขึ้นฮับอาเซียน

14599368701459936910m

น่านฟ้าไทยในเวลานี้กำลังเข้าสู่โหมดพีกสุด หลังท่องเที่ยวและสายการบินโลว์คอสต์เติบโตขึ้นมาก ทำให้การจราจรทางอากาศเนื่องแน่นปัจจุบันมีปริมาณเที่ยวบินเข้า-ออกร่วม 8 แสนเที่ยวบิน ปลายปีนี้ประเมินจะแตะ 1 ล้านเที่ยวบิน และกำลังกลายเป็นวิกฤตใหญ่ หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจจะทำให้การเป็นฮับการบินของไทย ไปไม่ถึงเป้าหมาย

ประเทศไทยการบินโต 11-13%

“สาริณี แสงประสิทธิ์” ซีอีโอบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ใน 5 ปีนี้มีแผนจะลงทุนสำหรับการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ รวม 15,000 ล้านบาท
“เพื่อไปสู่เป้าหมายเป็นฮับเชื่อมต่อเดินทางและการขนส่งของภูมิภาค รวมถึงทำให้บริการการเดินอากาศของประเทศเป็นไปตามมาตรฐานสากลระบบใหม่ และมีศักยภาพจะรองรับปริมาณการขนส่งทางอากาศที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
ซีอีโอวิทยุฯยังฉายภาพให้ฟังว่าภาพรวมการบินทั้งประเทศไทยขณะนี้เติบโตสูงในระดับTop Ten ของโลก จากข้อมูลปีที่แล้วเติบโตอยู่ที่ 11-13% ติดต่อกันมา 6 ปีซ้อน จากสถิติทั่วโลกเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.3-6.7% ขณะที่ภูมิภาคเอเชียโตกว่า 8% คาดการณ์ถึงสิ้นปีนี้จะแตะอยู่ที่ 1 ล้านเที่ยวบินแน่นอนจากปี 2558 ที่มีเที่ยวบินกว่า 8 แสนเที่ยวบิน และใน 3-5 ปีจะไปถึง 1.5 ล้านเที่ยวบิน และไม่เกิน 10 ปีจะถึง 2 ล้านเที่ยวบิน

ที่เพิ่มขึ้นชาร์เตอร์ไฟลต์และสายการบินของไทยเอง โตสุดสนามบินดอนเมือง 30% มีเที่ยวบินเข้า-ออกเฉลี่ย 700 เที่ยวบินต่อวัน สุวรรณภูมิกว่า 10% มีเที่ยวบินเข้า-ออกเฉลี่ย 950 เที่ยวบินต่อวัน ตอนนี้แค่ 8 แสนไฟลต์ก็เริ่มอึดอัดและเริ่มดีเลย์แล้ว ขณะที่อีกหลายประเทศมีสนามบินไม่ต่างจากเรา ยังรับได้ 2-3 ล้านเที่ยวบินและไม่มีดีเลย์ ก็จะเป็นโอกาสของไทยจะบริหารยังไง เพราะตอนนี้ท่องเที่ยวโตมาก และใช้โหมดทางอากาศ 90%”

เปลี่ยนใช้ระบบอัตโนมัติ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรับมือ “สาริณี” กล่าวว่า บริษัทเตรียมระบบควบคุมการจราจรทางอากาศเป็นอัตโนมัติทั้งหมด เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ เพื่อให้โฟลว์และการจัดการทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเดิมเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ อีก 2 ปีจะเริ่มใช้ เพราะต้องเทรนนิ่งคนให้เรียนรู้ระบบใหม่ ซึ่ง 5 ปีจากนี้คนอาจจะลดลงเพราะจะเปลี่ยนบทบาทจากคอนโทรลเป็นแมเนจทราฟฟิก

ในช่วงที่ผ่านมาได้ลงทุนในหลายเรื่อง แยกเป็น 1.ระบบใหม่ วงเงิน 4,000 ล้านบาทในพื้นที่ส่วนกลางและต่างจังหวัด พร้อมกับเครื่องทดสอบ 1 เครื่อง 2.ระบบทดสอบที่สนามบินสุวรรณภูมิ 3.จะลงทุนต่อเนื่องการบริหารจัดการจราจร จะเปิดประมูลซื้อโนว์ฮาวเร็ว ๆ นี้ พร้อมระบบจัดการจากต่างประเทศ จะใช้เงินลงทุนไม่มาก

เร่งจัดจราจรทางอากาศ

“บริษัทลงทุนโครงการใหญ่ ๆ ไปหมดแล้ว เช่น เรดาร์ 6 ไซต์ ประมาณ 700 ล้านบาท ขณะนี้ตรวจรับแล้วจะเริ่มติดตั้ง ส่วนแอร์ทราฟฟิกแมเนจเมนต์ (การจัดตั้งศูนย์บริหารจราจรทางอากาศ) ลงทุนไป 4 พันล้านบาท กำลังจะทดสอบและฝึกอบรม ตอนนี้การลงทุนของเราเป็นการลงทุนแบบต่อเนื่องทุกปี เป็นแผน 5 ปี 10 ปี ทยอยลงทุน บางส่วนมีตั้งงบฯไว้แล้ว โดยรวมจากนี้ถึง 5 ปีจะมีงบฯลงทุนอีก 1 หมื่นล้านบาท รวมลงทุน 3 ปีที่แล้วอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท”

โดยเงินลงทุนจะมาจากรายได้ประจำปีและเงินกู้ ตามแผนการใช้เงินปี 2559 คาดว่าจะมีรายได้รวม 11,205 ล้านบาท เติบโตจากปี 2558 ประมาณ 7% มีรายได้รวมอยู่ที่ 10,773 ล้านบาท เติบโตตามเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี

ทยอยแก้ปม ICAO

สำหรับการปฏิบัติตามกฎของ ICAO หรือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ “สาริณี” กล่าวว่า จาก 17 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยุการบินได้แก้ไขแล้ว 4 เรื่อง ได้แก่ การทำงานให้มีระบบที่ฟังและพูดตอบ วิธีปฏิบัติของยวดยานในสนามบินต้องให้เชื่อมโยงกับท่าอากาศยาน คู่มือวิธีปฏิบัติเครื่องบินเล็กและวิธีปฏิบัติระบบการสื่อสาร ต้องเขียนให้ชัดเจน

“บางเรื่องใช้เวลาเป็นปี บางเรื่อง 3-4 เดือน เช่น เรื่องคนที่ขาดแอร์ทราฟฟิกคอนโทรลเป็นอาชีพพิเศษ ที่คัดกรองมาระดับหนึ่ง แต่้ทุกคนจะไม่ผ่าน 100% ต้องใช้เวลาเป็นปี ปัจจุบันเรามีบุคลากร 3 พันคน ดูแล 36 สนามบินทั่วประเทศ หรือบางเรื่องยังทำไม่ครบ ต้องรอออกกฎก่อน”

ทั้งหมดเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อใช้โอกาสสำคัญให้การบินของไทยเทียบชั้นนานาประเทศ

ที่มา

updated: 07 เม.ย 2559 เวลา 12:30:59 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

https://www.atta.or.th/wp-admin/post-new.php

Comments

comments